วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของหนังสั้น




         “หนังสั้น คือหนังที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาทีด้วยข้อกำหนดของเรื่องเวลาจึงทำให้ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเนื้อเรื่อง หรือ การดำเนินเรื่องจึงไม่เน้นที่มีเหตุการณ์ซับซ้อนเพื่อที่จะให้คนดูเข้าใจและ ให้เหมาะสมกับเวลา
            สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
            เมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละคร และแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้นการคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละคร และแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

ประวัติและพัฒนาการของหนังสั้น




ประวัติหนังสั้น
หนังสั้นโดยเปรียบเทียบกับเรื่องสั้นในความหมายของหนังสั้นที่ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ หนังที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที มีรูปเเบบหรือสไตล์หลากหลาย ทั้งที่ใช้การเเสดงสด(Live action film)หรือ แอมนิเมชั่น(animited film) ก็ได้
การกำหนดความยาวของหนังสั้นด้วยเวลาที่เเน่นอน เพราะเนื่องจากหนังที่มีความยาวเกิน 30 นาที จะมีรูปเเบบของการเข้าถึงตัวละครเเละโครงเรื่องต่างจากหนังสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที หนังที่มีความยาวตั้งเเต่ 30-60 นาที จะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการกำหนดอารมณ์ของคนดูว่าตอนไหนควรเร่งรีบ ตอนไหนควรทิ้งหรือถ่วงเวลาเพื่อให้คนดูสนุกสนาน ส่วนหนังสั้นมีเวลาจำกัดไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หรือเล่นอารมณ์กับคนดูได้มากนักจึงต้องเข้าถึงตัวละครอย่างรวดเร็ว เเละทำโครงเรื่องให้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อให้คนดูเข้าใจเรื่องได้ในเวลาที่จำกัด




พัฒนาการของภาพยนตร์สั้น
ปัจจุบันหนังสั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้กลายเป็นหนังบันเทิงเรื่องยาว หนังเรื่องเเรกเท่าที่มีการค้นพบ เป็นหนังสั้นของ Edison มีความยาวประมาณ 50 ฟุต เป็นเเอ็คชั่นของการจามเรื่อง Fred Ott’s Sneeze (1894) ถ่ายด้วยกล้อง Kinetograph การสร้างหนังในช่วงเเรก เป็นหนังสั้นทุกเรื่อง เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ภาพยนตร์ในสมัยนั้นได้รับความสนใจมาก เเละเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดีทำให้บริษัทของ Edison เเละบริษัทอื่นๆรวมทั้งบริษัท Mutoscope เเละ Biograph เริ่มต้นที่จะรวมตัวกันผูกขาดกิจการค้า โรงหนัง Pittsburgh ในปี 1905 ซึ่งโรงหนังนี้ทำให้มีคนดูหนังมากขึ้น ธุรกิจหนังสั้นในยุคนั้นจึงเฟื่องฟูขึ้น ในปี 1908 อิตาลีสร้างหนังประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มีความยาว 5 ม้วน D.W. Griffith ได้รับอิทธิพล การสร้างหนังที่มีความยาวขึ้น ซึ่งเเต่เดิมการสร้างภาพยนตร์เรื่องยาว เขามีความพยายามสร้างอยู่เเล้วโดยสร้างให้ยาวมากขึ้นเรื่อยๆจาก 1 ม้วนเป็น 2 ม้วน เช่นเรื่อง Enoch Arden (1991) เเม้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เเละถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยจากผู้อำนวยการสร้าง เเต่ในที่สุดเมื่อเขาชมภาพยนตร์ที่มีความยาวของอิตาลี จึงเป็นเเรงให้เขามีเเรงบันดาลใจในการสร้างหนังยาวถึง 4 ม้วน ในเรื่อง Judith  of Bethulia (1914) ซึ่งเป็นหนังที่มีความยาวมากครั้งเเรกของประวัติศาสตร์การสร้างหนังของ Hollywood เป็นเรื่องสำคัญเรื่องสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มสร้างหนังบันเทิงเรื่องยาว คือ The Birth of a Natoin (1915) อันเป็นจุดเริ่มต้นบรรทัดฐานการสร้างหนังบันเทิงที่มีความยาวในปัจจุบัน เเม้ว่าหนังบันเทิงที่มีความยาวมากขึ้นจะได้รับความนิยม เเต่หนังสั้นก็ยังคงผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้กำกับหนุ่ม Mack Scnnett ที่ไม่สามารถผลิตหนังตลกให้กับบริษัทของ Edison หรือ Biograph ได้อีกต่อไปจึงออกมาสร้างบริษัทสร้างภาพยนตร์อิสระของตนเอง ชื่อบริษัท Keystone Picture ผลิตหนังสั้นตลก ต่อมาในปี 1913 นักเเสดงชาวอังกฤษ Charlie Chapplin ได้ร่วมกับบริษัทของ Sennett สร้างหนังสั้นตลกยิ่งใหญ่ออกมาอีกหลายเรื่อง เช่น The Tramp (1915) , One A.M. (1916), Easy Street (1917), เเละ A dog’s Life (1918) หนังสั้นตลกของเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการวิพากษ์สังคมโดยผ่านตัวละครโง่เขลา จนในที่สุดกลายมาเป็นเเบบอย่างให้กับนักเเสดงตลกที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ตามมา เช่น Buster Keaton เเละ Laurel and Hardy


ตัวอย่างการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น


ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น

1.      สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.      รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
3.      เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.      มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.      กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.      ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง


7.      เป็นแบบอย่างที่ดี 
8.      ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.      ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
10.      ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11.      เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น


แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง





1  .ให้ทางสถาบันการศึกษาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นอาวุธนักศึกษาทั้งเข้าและออก รวมทั้งหลังจากที่นักศึกษากลับบ้าน   ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดประตูทางเข้าออก รวมทั้งฝั่งตรงข้ามสถาบัน

2.  ขอให้ผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียน ในบ้านและในสังคม เป็นแบบอย่างในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนกล้าแสดงออกที่เหมาะสมกับกาลเทศะ รวมทั้งส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีความพร้อมทั้งทางความคิดและความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา 

3.  ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันน่าอยู่ และสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ที่เด็กชอบหนีไปเที่ยว ติดตามศิษย์เก่าที่มีพฤติกรรมไม่ดี ชอบมายุแหย่รุ่นน้องให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีมักเตือนและให้คำแนะนำว่าเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย  ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง

4.จัดทำประวัตินักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนใหม่นำข้อมูลส่งตำรวจติดตามพฤติกรรม  ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร




5.สร้างทางเลือกในกิจกรรมที่เร้าใจเยาวชน จัดกิจกรรมระหว่างสถาบันการศึกษา เช่น การพัฒนาวัด ทำบุญร่วมกัน  จัดการเรียนรู้ให้เยาวชนเห็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ทั้งดีและร้ายของการพนัน การเสพยา พฤติกรรมเพศที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสร้างวินัยให้เยาวชนเข้าใจขอบเขตที่เหมาะสม ที่ไม่เป็นผลร้ายแก่ตัวเองและผู้อื่น

6. จัดตำรวจเข้าไปเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและบทลงโทษแก่เยาวชนที่กระทำความผิด

7. หน่วยงานต่างๆของรัฐและเอกชน ควรมีส่วนร่วมเสมอ  ในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาขึ้น  โดยมีแนวทางดังนี้ คือ เปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงข้อมูล  ข่าวสาร  ทรัพยากร  เพื่อกระต้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น  ได้ทดลอง  ได้เรียนรู้  ได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนเองสนใจ  และมีความถนัด   ส่งเสริมการเรียนรู้  ด้วยการงดเว้นค่าบริการต่างๆ  เช่น  ค่ารถ ค่าเรือ  ค่าผ่านประตูเข้าสวนสัตว์  พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  สนามกีฬา  ห้องสมุด  รวมถึงการลดราคาให้แก่ผู้ใหญ่ที่พาเด็กเข้าไป  เป็นต้น  รัฐควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้  ส่งเสริมครู  และพี่เลี้ยงเยาวชน  ที่มีความสามารถพิเศษ  และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก  เช่นนักกีฬาทีมชาติ  ควรให้เป็นผู้สอนเยาวชนในกีฬาที่เด็กสนใจ  ส่งเสริมสนามกีฬา  ศูนย์เยาวชน  สวนสาธารณะ  สวนสัตว์  ให้เป็นที่เรียนรู้แก่เด็ก โดยมีผู้ใหญ่ที่คอยดูแลให้เด็กได้เรียนรู้อย่างคุ้มค่า

8. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทต้องถูกลงโทษด้วยกฎหมายที่เด็ดขาด   เชื่อว่าน่าจะมีผลให้นักศึกษาหวาดเกรงโทษ และก่อเหตุน้อยลง เพราะที่ผ่านมามีแต่การพูดถึงว่าต้องถูกลงโทษ แต่ยังไม่เคยเห็นเป็นรูปธรรม ส่วนที่มีผู้เสนอว่าน่าจะเชิญผู้แทนอัยการ และผู้พิพากษาเข้ามาร่วมพิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยนั้น   น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาในกรณีที่เด็กก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะจะได้วางแนวทางพิจารณาโทษคดีความต่างๆ ไปในแนวทางเดียวกัน


หน่วยงานทีมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น  มีดังนี้
1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. กระทรวงศึกษาธิการ
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
4. สถาบันการศึกษา
5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
6. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ


ผลกระทบต่อสังคม

1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้แล
2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้ โชว์พาวข่มขู่เด็กอื่นๆ
4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น